รอยยิ้มในอวกาศ

<
<


ในสมัยก่อน ผู้คนมักจินตนาการรูปร่างของสัตว์ คน และสิ่งอื่นๆ จากการจัดเรียงตัวของดวงดาวยามค่ำคืนที่อยู่บนท้องฟ้า เมื่อรวมๆ กันจะกลายเป็นกลุ่มดาว ในตอนนี้นักบินอวกาศได้นำรูปภาพที่คล้ายกับหน้าพร้อมกับรอยยิ้มในศูนย์กลางของภาพนี้มาเปิดเผย ซึ่งภาพนี้ถูกถ่ายโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิ้ล

ใบหน้านั้นอยู่ในกลุ่มของกาแล็กซี่ ซึ่งเป็นกลุ่มขนาดใหญ่ของดวงดาว นักบินอวกาศได้ให้ชื่อกลุ่มดวงดาวนี้ซึ่งยากต่อการจดจำว่า SDSS J1038+4849

ดวงตาสองดวงที่เป็นสีส้มนั้นลอยอยู่เหนือกับจมูกที่เป็นแสงสีขาว ตาสองข้างนั้นจริงๆ แล้วเป็นกาแล็กซี่ที่มีความสว่างมากๆ ซึ่งอยู่ไกลประมาณ 4.5 พันล้านปีแสง รอยยิ้มและขอบของใบหน้านั้นไม่ได้มีอยู่จริงๆ เส้นที่เป็นส่วนโค้งเหล่านั้นเป็นแสงที่เกิดการบิดเบี้ยว ซึ่งมาจากผลกระทบที่เราเรียกกันว่า gravitational lensing ซึ่งนักวิทยาศาสตร์จาก National Aeronautics and Space Administration and the European Space Agency (ESA) ได้อธิบายไว้

กลุ่มของกาแล็กซี่นั้นมีขนาดใหญ่มาก ในความจริงแล้ว พวกมันเป็นสิ่งที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดในจักรวาล แรงโน้มถ่วงนั้นทำตัวคล้ายกับเลนส์ของแว่นตาที่มีความหนาหรือที่เรียกว่ากล้องโทรทรรศน์ แต่ gravitational lens นั่นมีความรุนแรงมากกว่าซึ่งมันไม่เพียงสามารถขยายแต่ยังบิดแสงด้านหลังของมันได้ด้วย “การค้นพบที่มากมายของกล้องฮับเบิ้ลนั้นเป็นไปได้ที่เกิดจากเลนส์แบบนี้” NASA ชี้แจงไว้

กว่าร้อยปีที่ผ่านมา Albert Einstein เป็นผู้เสนอคนแรกว่า แสงสามารถบิดโค้งได้โดยแรงโน้มถ่วงซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทฤษฏีสัมพันธภาพ หลังจากนั้นอีก 21 ปี Einstein ได้เขียนวารสารทางวิชาการอธิบายเกี่ยวกับภาพของแสงที่ถูกบิดโค้งนั้นว่าสามารถเกิดขึ้นได้ มันได้รับขนานนามว่า Einstein ring เมื่อวัตถุขนาดใหญ่บางชนิดทำตัวคล้ายกับเลนส์ แสงที่โค้งอาจจะปรากฏขึ้นในลักษณะที่โค้งเป็นบางส่วนหรือเป็นวงกลม

ในภาพนี้ ภาพของแสงที่บิดโค้งได้ถูกสร้างขึ้นเป็นส่วนโค้งของรอยยิ้มและรูปโครงหน้า โดยดวงตานั้นทำให้เกิดเลนส์ขึ้นซึ่งทำให้เกิดรอยยิ้มเช่นนี้ แสงของมันมาจากแสงที่อยู่ด้านหลังของดวงตาซึ่งไกลกว่า 3 พันล้านปีแสง

นักบินอวกาศจับภาพลักษณะนี้ไว้ได้ในขณะที่ใช้กล้องฮับเบิ้ลสองตัว ศิลปิน Judy Schmidt ได้นำภาพนี้เข้าประกวดในงาน ESA’s Hubble’s Hidden Treasures contest






ที่มา : http://www.vcharkarn.com/vnews/501760
____________________
เครดิต :
________________________________

อ้างอิง :
________________________________
loading...

คุณรู้สึกอย่างไรกับบทความนี้

Tags: , ,
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...