นานหลายทศวรรษแล้ว ที่เหล่านักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าไฟใต้น้ำตกอีเทอนอลเฟรมของนิวยอร์ก ลุกโชนไม่รู้จักดับจากก๊าชในชั้นหิน อย่างไรก็ตามจากการตรวจสอบล่าสุดของนักวิจัยสหรัฐฯ ปฏิเสธทฤษฎีดังกล่าวโดยสิ้นเชิง แต่ยังไม่สามารถหาคำตอบได้อย่างชัดเจนว่ามันเกิดจากกระบวนการใด
เหล่านักค้นคว้าวิจัยจากมหาวิทยาลัยอินดีแอนา พบว่าชั้นหินใต้อุทยานเชสนัท ริดจ์ เคาน์ตี อันเป็นที่ตั้งของน้ำตก ไม่เพียงพอสำหรับผลิตก๊าซ ซึ่งนั่นหมายว่าธรรมชาติคงมีกระบวนการอื่นที่สามารถผลิตก๊าซได้เพียงพอสำหรับหล่อเลี้ยงเปลวเพลิงให้ยังลุกไหม้ชั่วกัลปาวสาน
ทั่วโลกมีไฟไม่รู้ดับทางธรรมชาติหลายร้อยแห่ง และแต่ละแห่งสันนิษฐานว่าก๊าซทางธรรมชาติจากชั้นหินโบราณเบื้องล่างที่เรียกกันว่าชั้นหินดินดาน คือสิ่งหล่อเลี้ยงเปลวเพลิงให้ยังคงลุกโชติช่วง อย่างไรก็ตาม อาร์นด์ท ชิมเมลมันน์กับเหล่านักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอินเดียนา พบว่าชั้นหินที่อยู่ใต้เปลวเพลิงน้ำตกในนิวยอร์กไม่เพียงพอสำหรับก่อปฏิกิริยาเช่นนี้ได้
เชื่อกันว่าเปลวไฟชั่วนิรันดร์ที่อยู่ใต้น้ำตกอีเทอนอลเฟรมในนิวยอร์ก ถูกจุดด้วยคนพื้นเมืองอเมริกันหลายพันปีก่อน อย่างไรก็ตาม จากผลวิจัยล่าสุด ชิมเมลมันน์ระบุว่าชั้นหินมีอุณหภูมิแค่ประมาณหนึ่งเท่านั้นและที่สำคัญมันไม่ได้เก่าแก่อย่างที่คิดไว้แต่แรก
ด้วยทั้งสองปัจจัยจึงหมายความว่าชั้นหินใต้น้ำตกในนิวยอร์กจึงไม่สามารถสร้างก๊าซธรรมชาติได้เหมือนเหล่าเปลวเพลิงที่ไม่รู้จักดับอื่นๆ ทั่วโลก และพวกนักวิจัยก็ยอมรับไม่ทราบจริงๆ ว่ากระบวนการผลิตก๊าซใต้น้ำตกนิวยอร์กเกิดขึ้นจากวิธีการใด
ตามทฤษฎีแล้ว อุณภูมิของชั้นหินต้องอยู่ใกล้จุดเดือดของน้ำหรือร้อนกว่านั้น เพื่อสลายโมเลกุลคาร์บอนในชั้นหิน และปฏิกิริยาเหล่านี้จะเป็นตัวจุดชนวนให้เกิดก๊าซทางธรรมชาติ
ที่มา : http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9560000057448
____________________
เครดิต :
________________________________
อ้างอิง :
________________________________
loading...