ชีวิตบนดาวอังคาร

<
<

ในอดีตเมื่อหลายพันล้านปีมาแล้ว ดาวอังคารเคยมีบรรยากาศที่อบอุ่น และผิวดาวเคยมีทะเลปกคลุม ยาน Viking ที่สหรัฐ ฯ เคยส่งไปสำรวจรายงานกลับมายังโลกว่า ถึงแม้บรรยากาศของดาวอังคาร จะเจือจางกว่าโลกก็ แต่ดาวอังคารก็มีก๊าซชนิดต่าง ๆ เหมือนโลก

มนุษย์สนใจและใฝ่ฝันที่จะได้ไปเยือน ดาวอังคารมานานหลายพันปีแล้ว นักดาราศาสตร์ชาวบาบิโลนเมื่อเห็นดาวดวงนี้ มีสีแดงเรื่อ ๆ จึงตั้งชื่อว่า Nergal ซึ่งแปลว่า มรณเทพ คนจีนโบราณเรียกดาวอังคารว่า ดาวเพลิง เพราะมีสีแดง ส่วนชาวกรีกและชาวโรมันเรียกดาวนี้ว่า ดาวสงคราม



ในปี พ.ศ. 2420 G.V. Schiaparalli นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลีได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ที่ Galileo ประดิษฐ์ขึ้นศึกษาดาวดวงนี้อย่างจริงจัง เขาได้เห็นร่องรอยการกระทบกระแทก โดยอุกกาบาตที่ผิวดาวอังคารและได้เห็นเส้นสายต่าง ๆ พาดผ่านผิวดาวอังคารมากมาย เขามีจินตนาการว่าเส้นมัว ๆ ที่เขาเห็นคือ "คลอง" ประจวบกับขณะนั้น Ferdinand de Lesseps ผู้เป็นสถาปนิกชาวฝรั่งเศส ได้ประสบความสำเร็จในการขุดคลอง Suez ที่ยาว 150 กิโลเมตร โดยใช้เวลานานถึง 11 ปี ผู้คนในสมัยนั้น จึงคิดว่า "คลอง" บนดาวอังคารที่เห็นยาว 1,500 กิโลเมตรนั้น เป็นคลองที่เทวดาขุดแน่ ๆ


ข้อสรุปเช่นนี้นำมาซึ่งความแตกตื่น และเมื่อนักประพันธ์ชื่อ H.G Wells ได้แต่งนวนิยายที่เกี่ยวกับมนุษย์บนดาวอังคารว่า ได้เดินทางมารุกรานโลก คนหลายคนจึงเชื่อว่ามีมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อาศัยอยู่บนดาวอังคาร และเขาเหล่านี้ มีความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีเหนือมนุษย์บนโลกมาก
ในปี พ.ศ. 2508 สหรัฐอเมริกาได้ส่งยานอวกาศ ชื่อ Mariner 4 ไปสำรวจดาวอังคารที่ระดับสูง 1,000 กิโลเมตร กล้องถ่ายภาพบนยานได้บันทึกภาพ และภาพที่ได้แสดงให้เห็นชัดว่า บนดาวอังคารไม่มีสิ่งมีชีวิต ที่มีขนาดใหญ่อาศัยอยู่เลย

Mariner 4


ในปี พ.ศ. 2518 ยาน Viking 2 ได้ทะยานจากโลก แล้วโคจรไปลงจอดบนดาวอังคาร ผลการวิเคราะห์ดินบนดาว แสดงให้เราเห็นอีกครั้งว่าบนดาวดวงนี้ ไม่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่เลย

Viking 2

ดาวอังคารนั้นโคจรรอบดวงอาทิตย์ที่ระยะห่าง โดยเฉลี่ย 235 ล้านกิโลเมตร ซึ่งคิดเป็นระยะทางประมาณ 1.5 เท่าของระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์ ดังนั้นอุณหภูมิของดาวโดยเฉลี่ย จะเย็นกว่าของโลกมาก ในเวลากลางวันอุณหภูมิจะสูงประมาณ 10 องศาเซลเซียส แต่ในเวลากลางคืน อุณหภูมิจะลดต่ำกว่าศูนย์ ถึง 90 องศา 

จากการที่แกนของดาวเอียงทำมุม 24 องศา กับระนาบ การโคจรของมัน ดาวอังคารจึงมีฤดูกาลเหมือนโลกเรา โดยมีวันหนึ่งๆ นาน 24 ชั่วโมง 31 นาที และปีหนึ่งๆ นาน 687 วัน 


ภาพถ่ายที่ได้จากยานอวกาศแสดงให้เห็นว่าในอดีตเมื่อหลายพันล้านปี มาแล้ว ดาวอังคารเคยมีบรรยากาศที่อบอุ่น และผิวดาวอังคารเคยมีบรรยากาศที่อบอุ่น และผิวดาวเคยมีทะเลปกคลุม ยาน Viking ที่สหรัฐฯเคยส่งไปสำรวจดาว รายงานกลับมายังโลกว่า ถึงแม้บรรยากาศของดาวอังคารจะเจือจางกว่าของโลก ก็ตาม แต่ดาวอังคารก็มีก๊าซชนิดต่างๆ เหมือนโลก เช่น คาร์บอนไดออกไซด์(95%) และไนโตรเจน (3%) ดังเลขที่แสดงให้ดูนี้ ทำให้เราเห็นได้ว่าดาวอังคาร มีคาร์บอนไดออกไซด์มากเกินไปและไนโตรเจนน้อยเกินไป ดังนั้นหากสิ่งมีชีวิตใดๆจะอุบัติได้บนดาวอังคาร ชีวิตนั้นก็ไม่ควรจะมีรูปร่าง เหมือนสิ่งมีชีวิตที่เรารู้จัก


เมื่อวันที่ 7 สิงหาคมที่ผ่านมามานี้ D.Mckay แห่งองค์การบินและอวกาศของสหรัฐฯ (NASA) ได้ออกแถลงการณ์ผ่านหนังสือพิมพ์ New York Times ว่าในอุกกาบาตก้อนหนึ่งที่ NASA สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นอุกกาบาตจากดาวอังคาร มีซากฟอสซิล (Fossil) ของจุลินทรีย์

อุกกาบาตก้อนนี้มีชื่อเรียกเป็นทางการว่า ALH 84001 เพราะนักธรณีวิทยาได้ขุดพบมันที่บริเวณภูเขาชื่อ Allan Hills ในทวีปแอนตาร์กติกา และอุกกาบาตก้อนนี้มีขนาดใหญ่พอ ๆ กับมันฝรั่ง แต่หนักกว่ามากถึง 1.9 กิโลกรัม ในการวัดองค์ประกอบของอุกกาบาต นักธรณีวิทยาพบว่ามันประกอบด้วยหิน basalt และ pyroxenite โดยมีอัตราส่วนที่เท่ากับหินบนดาวอังคารที่ยาน Viking ได้เคยวัดไว้เมื่อ 22 ปี ก่อนทุกประการ ดังนั้น Mckay จึงสามารถสรุป ได้ว่าอุกกาบาต ALH 84001 มีกำเนิดจากดาวอังคาร

สำหรับการที่ ALH 84001 เกิดอุบัติเหตุตกจากดาวอังคารสู่โลกนั้น นักวิทยาศาสตร์ได้วิเคราะห์พบว่า ในอดีตที่นานมาแล้วได้มีอุกกาบาตขนาดใหญ่ก้อนหนึ่ง พุ่งชนดาวอังคาร ทำให้หินและดินบนดาวแตกกระจุยกระจาย ก้อนหินบางก้อนได้พุ่งหนีจากสนามแรงดึงดูดของดาวอังคารไปลอยวนเวียนอยู่อากาศนาน 6 ล้านปี จึงได้ถูกโลกดึงดูดให้ตกลงสู่โลกที่ Allan Hills และถูกฝังอยู่ในน้ำแข็งที่นั่นนาน 13,000 ปีจนนักธรณีวิทยา จาก NASA ได้ขุดพบในเวลาต่อมา




จากการใช้แสงเลเซอร์สำรวจอุกกาบาต ALH 84001 McKay และคณะอ้างว่ามีฟอสซิลของสัตว์เซลล์เดียว ที่ร่างกายประกอบด้วยโมเลกุลชื่อ Polycyclie Aromatic Hydrocarbon (PAH) ซึ่ง McKay มั่นใจว่าเป็นที่มาจากดาวอังคาร หาได้มาจากการปนเปื้อนโดยสิ่งแวดล้อม ต่ออุกกาบาต ALH 84001 ไม่ ข้อสังเกตของ McKay อีกประการหนึ่งก็คือว่า ฟอสซิลที่เห็นนี้มีขนาดเล็กกว่าจุลินทรีย์ที่เล็กที่สุด ของโลกถึง 100 เท่า ทำให้เขาไม่สามารถเห็นโครงสร้างภายใน หรือโครงสร้างผนังเซลล์ของมันได้เลย ข้อสรุปนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์คนอื่น ๆ สงสัยว่าจริง ๆ ไม่น่าจะมีชีวิตบนดาวอังคาร


ในการประชุมประจำปีของ Lanar and Planetary Science Conference (LPSC) ที่ Houston รัฐ Taxas ในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 17-21 มีนาคมศกนี้ ที่ประชุมได้อภิปรายข้อมูลล่าสุดจาก ALH 84001 ว่า เม็ด carbonate ที่ McKay สังเกตเห็นแล้วลงความเห็นว่า เป็นฟอสซิลนั้นอาจจะเกิดจากกระบวนการที่ไม่เกี่ยวกับทางชีววิทยาใด ๆ นอกจากนี้จากการวัดอุณหภูมิ ของอุกกาบาตขณะเกิด "ฟอสซิล" นักวิจัยได้พบว่าอุณหภูมิที่ว่านั้นสูงถึง 700 องศาเซลเซียสซึ่งสูงเกินกว่าที่สิ่งที่มีชีวิตใด ๆ จะดำรงได้ (จุลินทรีย์บนโลกทนความร้อนได้สูงสุดแค่ 120 องศาเซลเซียส)

จะอย่างไรก็ตามที่ประชุมก็ยังคงเชื่อเหมือน Mckay ว่าในอดีตชีวิตอาจจะเคยอุบัติบนดาวอังคาร ดังนั้นความพยายามในการค้นหาชีวิต บนดาวอังคารจึงสมควรดำเนินต่อไป โดยขณะนี้ยานอวกาศ Pathfinder กำลังมุ่งหน้าสู่ดาวอังคารและมีกำหนด จะลงจอดบนดาวในวันที่ 4 กรกฎาคม หากพายุบนดาวอังคารพัดรุนแรงการสำรวจ ดาวโดยรถยนต์ที่ถูกบังคับทางไกลอาจจะมีปัญหา แต่หากทัศนวิสัยดี Pathfinder ก็คงจะทำให้เรามั่นใจว่าสิ่งมีชีวิตได้เคยมี กำลังมีหรือจะมีบนดาวอังคารด้วยหาก Pathfinder ไม่มีคำตอบในปี พ.ศ. 2544 ที่จะถึงนี้ NASA กำหนดปล่อยหุ่นยนต์ออกสำรวจ ดาวอังคารอีกสองครั้งเพื่อจะรู้ให้ได้ว่า ดาวอังคารมีชีวิตหรือไม่มีวันมี



เครดิต : https://www.facebook.com/pages/เเอเรีย-51
________________________________


loading...

คุณรู้สึกอย่างไรกับบทความนี้

Tags: ,
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...