หน่วยงานอวกาศอินเดีย ได้เผยแพร่ภาพดาวอังคารชุดแรกจากยานสำรวจ "มังคลายาน"
วันนี้(26 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หน่วยงานอวกาศอินเดีย ได้เปิดเผยถึงภาพภ่ายดาวอังคารภาพแรก ซึ่งแสดงถึงหลุมขนาดใหญ่ ถูกถ่ายโดยยานสำรวจ "มังคลายาน" ซึ่งเป็นยานสำรวจดาวเคราะห์ลำแรกของอินเดียที่เริ่มโคจรรอบดาวอังคารเพื่อถ่ายภาพดางอังคารรวมทั้งการสำรวจหาก๊าซมีเทนในชั้นบรรยากาศของดาวงอังคาร ซึ่งหากพบว่ามีก็จะเป็นสิ่งที่ชี้วัดถึงโอกาสที่จะมีสิ่งมีชีวิตอยู่บริเวณพื้นผิวดาวอังคาร
โดยยาน "มังคลายาน" เป็นที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งคือ MOM (Mars Orbiter Mission) โคจรอยู่ห่างจากพื้นผิวดาวอังคารราว 7,300 กิโลเมตร และใช้เวลาประมาณ 12 นาทีในการส่งข้อมูลดิจิตอลกลับมายังโลก ซึ่งภาพนี้ได้รับการโพสลงในทวิตเตอร์ชื่อ @MarsOrbiter โดยล่าสุดมีผู้ติดตามกว่า 100,000 คนแล้ว
และหลังจากนั้นอีกราว 8 ชั่วโมง นักวิทยาศาสตร์อินเดียได้โพสภาพที่ 2 ซึ่งแสดงถึงชั้นบรรยากาศของดาวอังคาร
ทั้งนี้ ยานสำรวจจะใช้เวลาอีก 6 เดือนในการโคจร ซึ่งจะมีการโคจรระยะใกล้เพียง 365 กิโลเมตรจากพื้นผิวดาวอังคาร ก่อนที่จะถอยออกไปเป็น 80,000 กิโลเมตร เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับชั้นบรรยากาศของดาวอังคาร
จากข้อมูลของหน่วยงานอวกาศ งบประมาณที่ประเทศอินเดียใช้ลงทุนกับโครงการนี้ไปทั้งหมดมีมูลค่าราว 4.5 พันล้านรูปี (ประมาณ 2.25 พันล้านบาท) นับว่าเป็นโครงการส่งยานอวกาศทางข้ามดาวเคราะที่ประสบผลสำเร็จโดยใช้เงินทุนต่ำที่สุด
ซึ่งยานอวกาศอินเดียเข้าสู่วงโคจรดาวอังคารเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2557 และนับเป็นชาติที่ประสบความสำเร็จในการไปถึงดาวเคราะห์เพื่อนบ้านตั้งแต่ความพยายามครั้งแรก
องค์การวิจัยอวกาศอินเดีย (Indian Space Research Organisation: ISRO) รายงานความคืบหน้าเกี่ยวสถานะของยานอวกาศมาร์ออร์บิเตอร์มิชชัน (Mars Orbiter Mission: MOM) หรือมงคลยาน (Mangalyaan) ผ่านทางแฟนเพจเป็นระยะ และได้ยืนยันว่ายานอวกาศลำนี้ได้เข้าสู่วงโคจรของดาวอังคารเมื่อเวลาประมาณ 10.00 น.ของวันที่ 24 ก.ย.แล้ว
ทางด้านรอยเตอร์ระบุว่า ความสำเร็จดังกล่าวทำให้อินเดียกลายเป็นชาติแรกที่ไปถึงดาวอังคารตั้งแต่ความพยายามในครั้งแรก อีกทั้งยังกระตุ้นให้ นเรนทรา โมที (Narendra Modi) นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของอินเดียขยายโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีในโครงการอวกาศของชาติที่เริ่มต้นมาได้ 5 ทศวรรษให้ดียิ่งขึ้น
ยานอวกาศมูลค่ากว่า 2,000 ล้านบาทถูกกว่ายานมาเวน (MAVEN) ขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐ (นาซา) ที่เพิ่งไปถึงวงโคจรของดาวอังคารก่อนหน้านี้ 2 วันประมาณ 10 เท่า หลายสำนักข่าวจึงเรียกยานอวกาศลำนี้ว่า "ยานโลว์คอสต์"
การเข้าไปโคจรอยู่รอบดาวอังคารครั้งนี้ของมงคลยาน ทำให้อินเดียเป็นอีกชาติที่เข้าไปรวมกลุ่มเล็กๆ ของไม่กี่ชนชาติได้แก่ สหรัฐฯ รัสเซียและยุโรปที่ส่งยานอวกาศไปโคจรหรือลงจอดดาวอังคาร ขณะที่อีกหลายชาติพยายามส่งยานไปยังเป้าหมายเดียวกันกลับล้มเหลวตั้งแต่เริ่มปฏิบัติการ
ทั้งนี้ สัญญาณยืนยันความสำเร็จในการเข้าสู่วงโคจรของดาวอังคารต้องใช้เวลาเดินทางมาถึงโลกนาน 12 นาที แต่เมื่อศูนย์ควบคุมในบังกาลอร์ได้รับสัญญาณแล้วรอยเตอร์ระบุว่าการฉลองก็เริ่มขึ้น
ด้านโมทีซึ่งนั่งลุ้นอยู่ด้านหลังนักวิทยาศาสตร์ในห้องควบคุมดูลุ้นมากระหว่างที่มงคลยานเข้าสู่โค้งสุดท้ายก่อนถึงวงโคจรดาวอังคาร และเขาก็แสดงความยินดีกับนักวิทยาศาสตร์ของชาติหลังประสบความสำเร็จแล้ว
"อินเดียไปถึงดาวอังคารเรียบร้อยแล้ว ขอแสดงความยินดีกับทุกคน ประวัติศาสตร์ถูกสร้างขึ้นแล้วในวันนี้ เรากล้าที่จะไปยังที่ที่เราไม่รู้จักและเอาชนะความเป็นไปไม่ได้" โมทีกล่าวภายในห้องควบคุม
องค์การวิจัยอวกาศอินเดียประสบความสำเร็จในการจุดระเบิดเครื่องยนต์เชื้อเพลิงเหลว 440 นิวตัน และเครื่องยนต์ขับเคลื่อนขนาดเล็ก 8 เครื่องเป็นเวบา 24 นาที เพื่อลดความเร็วของยานให้สอดเข้าสู่วงโคจรและอยู่ใต้เงาดาวอังคารได้อย่างนิ่มนวล
ทั้งนี้ มงคลยานมีเป้าหมายในการศึกษาพื้นผิวดาวอังคารและองค์ประกอบแร่ธาตุต่างๆ ของดาวอังคาร รวมถึงกราดดูชั้นบรรยากาศดาวอังคารเพื่อค้นหามีเทน ซึ่งเป็นสารเคมีที่มีความเกี่ยวพันกับสิ่งมีชีวิตบนโลก
ที่มา :
http://www.tnews.co.th/html/content/108305/
http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9570000109810____________________
loading...