ใยปริศนาที่เปรู...นักวิทย์ยังไม่รู้คืออะไร?

<
<


ใยปริศนาที่อเล็กซานเดอร์บังเอิญพบในส่วนอื่นๆ ของป่าอะเมซอน นอกเหนือจากใต้ผืนผ้าใบกันน้ำ

       ใยปริศนาโผล่ที่ป่าอะเมซอนแถบเปรู แต่ไม่มีใครรู้ว่าคืออะไร แม้กระทั่งนักวิทยาศาสตร์
     
       ใยประหลาดนั้นดูคล้ายเสาแหลมสูงรายรอบด้วยหนามแหลมเป็นวงเหมือนรั้วรอบ กว้างเพียง 2 เซนติเมตร  ซึ่งไลฟ์ไซน์ระบุว่า ทรอย อเล็กซานเดอร์ (Troy Alexander) นักศึกษาของจอร์เจียเทค (Georgia Tech) สหรัฐฯ  เป็นคนแรกที่พบใยประหลาดนี้อยู่ใต้ผ้ากันน้ำ ใกล้ศูนย์วิจัยแทมโบพาตา (Tambopata Research Center) ในป่าอะเมซอนที่เปรู
     


       ตอนแรกอเล็กซานเดอร์เข้าใจว่าจะเป็นรังตัวอ่อนผีเสื้อกลางคืน แล้วได้เสนอเรื่องนี้ลงเว็บไซต์ Reddit แต่เขาก็ได้เจอใยประหลาดนี้อีกหลายครั้ง ซึ่งทุกครั้งก็จะดูคล้ายๆ กัน เขาจึงโพสต์รูปลงเว็บไซต์เดิมแล้วถามนักวิทยาศาสตร์เพื่อช่วยหาคำตอบ ควบคู่กับการหาคำตอบในศูนย์วิจัยแต่ก็ไร้ประโยชน์ เขาเขียนอธิบายในเว็บไซต์ว่าที่เสากลางของใยน่าจะมีไข่ซึ่งอาจจะกลายเป็นดักแด้แล้ว
     
       ด้าน คริส บัดเดิล (Chris Buddle) นักแมงมุมวิทยาจากมหาวิทยาลัยแมคกิลล์ (McGill University) แคนาดา กล่าวว่าเขาและเพื่อนร่วมงานก็ไม่ทราบว่าใยดังกล่าวคืออะไร และไม่มีอะไรที่เป็นเบาะแสได้เลย นับเป็นเรื่องลึกลับที่น่าสนใจจริงๆ
     
       “ผมไม่รู้เลยว่าตัวอะไรสร้างใยนั่นขึ้นมา” นอร์แมน แพลตนิค (Norman Platnick) ภัณฑรักษ์กิตติคุณทางด้านแมงมุมของพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาอเมริกัน (American Museum of Natural History) ในนิวยอร์ก บอกทางไลฟ์ไซน์
     

       ทางด้านแฟนเว็บไซต์เรดดิทและคนอื่นๆ ต่างก็คาดเดาว่าใยดังกล่าวน่าจะเป็นรังดักแด้ของผีเสื้อกลางคืน หรือใยที่สร้างขึ้นอย่างซับซ้อนเพื่อปกป้องไข่แมงมุม หรือแม้กระทั่งสปอร์ของเห็ดราบางชนิด
     
       สำหรับอเล็กซานเดอร์นั้นเขาหลงรักป่าอะเมซอนในเปรูอย่างมาก เมื่อได้ใช้เวลาวันหยุดยาวอยู่ที่นั่น และเขาได้ขออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อไปเป็นนักวิจัยอาสาที่นั่นสักระยะ หลังจากนั้นเขาได้กลับไปเปรูเพื่อทำงานในโครงการเทมโบพารามาคอว์ (Tambopata Macaw Project) ซึ่งมุ่งศึกษาในเรื่องชีววิทยาของนกแก้วและการอนุรักษ์ ไลฟ์ไซน์อ้างตามคำสัมภาษณ์ของเขาในคอลอสซอล (Colossal) บล็อกด้านศิลปะ
     
       ไลฟ์ไซน์อ้างตามการประเมินทางวิทยาศาสตร์จากหลายๆ แหล่งว่า หากสัตว์ชนิดใดก็ตามที่สร้างใยประหลาดนี้ขึ้นมา จะถูกจัดให้เป็นสปีชีส์ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก ซึ่งป่าฝนในโลกนี้ก็มีสัตว์ในกลุ่มอาโทรพอดส์ (arthropods) หรือสัตว์ที่มีกระดูกแข็งนอกลำตัว ซึ่งรวมทั้งแมลงและแมงมุม อีกเป็นล้านสปีชีส์ที่น่าจะเป็นสปีชีส์ใหม่
     
       พร้อมทั้งยกตัวอย่างการสำรวจสัตว์อาโทรพอดส์ในป่าปานามาซึ่งมีพื้นที่ประมาณแมนฮัตตัน และได้พบกับแมลง แมงมุม และอาโทรพอดส์อื่นๆ กว่า 25,000 สปีชีส์ โดย 70% ในจำนวนนั้นเป็นสปีชีส์ใหม่ตามการจำแนกทางวิทยาศาสตร์ และในทุกๆ สัตว์เลี้ยงด้วยนม 1 สปีชีส์ จะพบอาโทรพอดส์ 300 สปีชีส์




     



     

ใยปริศนาใต้ผืนใบกันน้ำที่อเล็กซานเดอร์บันทึกภาพไว้

     


กูเกิลแม็พแสดงภาพส่วนหนึ่งของป่าอะเมซอน

       


ใยหน้าตาประหลาดของดักแด้อื่นๆ ที่เห็นได้ในป่าอะเมซอน

     







ที่มา :  http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9560000113080
____________________
เครดิต :
________________________________

อ้างอิง :
________________________________
loading...

คุณรู้สึกอย่างไรกับบทความนี้

Tags: ,
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...