เว็บไซต์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(มหาชน) รายงานว่า ในวันที่ 10 ธ.ค.นี้ จะเกิด “จันทรุปราคาเต็มดวง” โดยดวงจันทร์จะเข้าสู่เงามืดของโลกตั้งแต่เวลา 19.46 น.และเริ่มเต็มดวงเวลา 21.06 – 21.57 เป็นเวลานาน 51 นาที
ในขณะที่ดวงจันทร์อยู่ในเงามืดของโลกเต็มดวง จะมองเห็นดวงจันทร์เป็นสีแดงอิฐทั้งดวง สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่าในทุกภูมิภาคของประเทศ ทางทิศตะวันออกสูงจากเส้นขอบฟ้าประมาณ 40 องศา หากพลาดชมจันทรุปราคาเต็มดวงคราวนี้คนไทยต้องรออีก 3 ปี จึงจะได้ชมจันทรุปราคาเต็มดวงในประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง ในวันที่ 8 ตุลาคม 2557 และครั้งถัดไปในวันที่ 4 เมษายน 2558
ช่วงเวลาเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง
- 18:33 น. เริ่มเกิดจันทรุปราคาเงามัว(P1)
- 19:46 น. เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน(U1)
- 21:06 น. เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง(U2)
- 21:31น. กึ่งกลางจันทรุปราคา
- 21:57 น. สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง(U3)
- 23:17 น. สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน(U4)
- 24:30 น. สิ้นสุดจันทรุปราคาเงามัว(P4)
นอกจากนี้ ในค่ำคืนของวันที่ 10 ธันวาคม 2554 นอกจากคนไทยทั่วประเทศจะเต็มอิ่มกับความงามของดวงจันทร์เต็มดวงสีแดงอิฐที่ยาวนานถึง 51 นาที แล้ว คนไทยยังมีโอกาสเห็นจันทรุปราคาของดาวพฤหัสบดี อีกหนึ่งปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันที่หาชมได้ยากอีกด้วย
ปรากฏการณ์จันทรุปราคาดาวพฤหัสบดีในครั้งนี้ เกิดจากดวงจันทร์ไอโอของดาวพฤหัสบดี โคจรเข้าไปในเงามืดของดาวพฤหัสบดี ทำให้คนบนโลกจะมองเห็นดวงจันทร์ไอโอค่อยๆ เคลื่อนที่หายเข้าไปหลังดาวพฤหัสบดี ในเวลา 18:12 น. และเคลื่อนที่ออกจากเงามืดของดาวพฤหัสบดีในเวลา 21:22 น. อย่างไรก็ตามการสังเกตปรากฏการณ์จันทรุปราคาบนดาวพฤหัสบดีนี้ ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเนื่องจากดาวพฤหัสบดีอยู่ไกลมาก จึงต้องสังเกตการณ์ผ่านกล้องโทรทรรศน์ที่มีกำลังขยายตั้งแต่ 50 เท่า ขึ้นไปเท่านั้น
ที่มา : mthai
____________________
เครดิต : เว็บไซต์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(มหาชน)
________________________________
loading...