ไขปริศนาดาวอังคาร ตอนที่ 2

<
<


ภาพ 3 มิติที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์จากการวิเคราะห์ของเดเมอร์ โอเลจาร์

ในปี ค.ศ. 1988 เออรอล ทอรัน นักวิจัยชาวอเมริกันได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลภาพถ่ายพีระมิดดีและเอ็ม ทอรันมีความเห็นว่าโครงสร้างที่เห็นนั้นน่าจะเกิดจากการก่อสร้าง มิใช่เกิดจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ จากนั้น ไรแลนด์ บาคแมนก็ทำการวิเคราะห์ซ้ำเช่นกันและมีความเห็นเช่นเดียวกับทอรัน แต่รายละเอียดนั้นแตกต่างกัน


กล่าวคือ ทอรันวิเคราะห์พบว่าโครงสร้างของพีระมิดนี้สัดส่วนระหว่างด้านต่างๆมีความสัมพันธ์กับค่าคงที่ไพ (Pi มีค่าประมาณ 2.14) และค่าลอการิทึมฐานธรรมชาติ (natural logarithm เขียนแทนด้วย e มีค่า 2.71828) แต่บาคแมนกลับพบว่าสัดส่วนระหว่างด้านต่างๆนั้นมีความสัมพันธ์กับค่ากรณฑ์ที่ 2 ของ 2 ซึ่งมีค่าประมาณ 1.414





พีระมิดดีและเอ็มมีสัณฐานทรงห้าเหลี่ยมและมีการวางตัวในแนวเหนือใต้อย่างเที่ยงตรงน่าประหลาด






บาคแมนพบว่าสัดส่วนระหว่างด้านต่างๆของพีระมิดมีความสัมพันธ์กับค่ากรณฑ์ที่ 2 ของ 2 ซึ่งมีค่าประมาณ 1.414



จวบจนถึงปัจจุบัน เป็นเวลาเกือบ 20 ปีที่ภาพถ่ายประหลาดแถบไซโดเนียของดาวอังคารถูกนำมาวิเคราะห์ด้วยเทคนิคต่างๆเพื่อหาข้อสรุปว่าสิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นผลงานของธรรมชาติหรือเป็นสถาปัตยกรรมของสิ่งมีชีวิตนอกพิภพ ซึ่งน้ำหนักของการเป็นสถาปัตยกรรมนอกโลกก็ยิ่งมีมากขึ้นเรื่อยๆ ถ้าแนวคิดนั้นเป็นความจริง นั่นก็ย่อมแสดงว่ามีสิ่งมีชีวิตที่เราไม่รู้จักนี้ต้องมีอารยธรรมอันสูงส่ง ไม่เช่นนั้นคงไม่อาจสร้างสถาปัตยกรรมที่ใหญ่โตขนาดนั้นได้ รวมทั้งบางคนยังเชื่อว่าพีระมิดบนดาวอังคารมีส่วนสัมพันธ์กับพีระมิดในประเทศอียิปต์อีกด้วย เพราะไม่น่าเป็นไปได้ที่สิ่งก่อสร้างของ 2 โลกจะเหมือนกันได้โดยบังเอิญ และมนุษย์ก็สงสัยกันมานานแล้วว่าชาวอียิปต์โบราณสร้างสถาปัตยกรรมอันยิ่งใหญ่เช่นนี้ได้อย่างไรทั้งๆที่ไม่น่าจะมีวิทยาการเพียงพอ คำตอบก็อาจจะอยู่ที่วิทยาการของชาวโลกอื่นนั่นเอง



เปรียบเทียบภาพใบหน้ากับโครงสร้างทรงรีในเขตเมืองโดยไม่มีการปรับขนาดและทิศทางของภาพแต่อย่างใด จะเห็นว่าโครงสร้างทั้ง 2 แห่งนี้มีความคล้ายคลึงกันมาก ไม่ว่าจะเป็นขนาด ทิศทาง และรูปทรง จนน่าสงสัยว่าทั้ง 2 โครงสร้างนี้มีความเกี่ยวข้องกันหรือไม่


เปรียบเทียบโครงสร้างของพีระมิดกับป้อมปราการ โครงสร้างคู่นี้ก็มีความคล้ายคลึงกันทั้งขนาด ทิศทาง และรูปทรงเช่นเดียวกับของคู่ใบหน้าและโครงสร้างทรงรี





แต่จากข้อมูลในปัจจุบันก็เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าสภาพแวดล้อมบนดาวอังคารไม่น่าจะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้

ถ้าเช่นนั้นอารยธรรมเหล่านี้มาจากที่ใด?

นักวิเคราะห์ได้ตั้งสมมติฐานไว้หลายประการ แต่ที่น่าสนใจมีอยู่ 2 สมมติฐาน คือ

สมมติฐานแรก มีอารยธรรมอันสูงส่งเจริญรุ่งเรืองอยู่บนดาวอังคารมานานหลายพันล้านปีแล้ว แต่ต่อมาสภาพแวดล้อมบนดาวอังคารเปลี่ยนแปลงไปจนชีวิตเหล่านั้นไม่อาจปรับตัวได้จึงสูญพันธุ์ไปจนหมด

สมมติฐานที่สอง มีอารยธรรมอื่นที่มาจากนอกระบบสุริยะมาตั้งรกรากอยู่บนดาวอังคารเมื่อนานมาแล้วในยุคที่ดาวอังคารมีสภาพแวดล้อมเหมาะที่จะอาศัยอยู่ได้ ต่อมาเมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป สิ่งมีชีวิตเหล่านี้จึงอพยพไปตั้งถิ่นฐานบนดาวดวงอื่นแทน เหลือทิ้งไว้แต่ซากแห่งความรุ่งเรืองในอดีต



ภาพวาดจินตนาการถึงสภาพของดาวอังคารในยุคที่มีผู้ที่เจริญด้วยวิทยาการอาศัยอยู่โดยมีพีระมิดเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรม


นอกจากนี้ นักวิเคราะห์ยังตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมอีกว่า หลังจากที่มีการวิเคราะห์ภาพถ่ายแถบไซโดเนียและตีพิมพ์ในวารสารทางวิทยาศาสตร์หลายต่อหลายครั้ง รวมทั้งองค์การนาซาเองก็กระวีกระวาดแถลงผลการค้นพบจุลินทรีย์ดาวอังคารจากก้อนอุกกาบาตดาวอังคารที่พบในโลก และยังมีโครงการสำรวจสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคารในโอกาสต่อไปอีกโดยให้ยานพาทไฟน์เดอร์ไปนำร่องก่อน แต่กับเรื่องสถาปัตยกรรมอันใหญ่โตมโหฬารหลายแห่งบนดาวอังคารนี้องค์การนาซากลับวางเฉยจนผิดสังเกต ยิ่งไปกว่านั้น โครงการสำรวจดาวอังคารของยานมารส์ออปเซอร์เวอร์ (Mars Observer) ที่ถูกส่งไปโคจรรอบดาวอังคารเมื่อปี ค.ศ. 1993 ก็ไม่มีการถ่ายภาพใบหน้าและพีระมิดเหล่านี้มาเลยทั้งๆที่พื้นที่แถบไซโดเนียอยู่ในแผนการถ่ายภาพ แต่นาซากลับอ้างเหตุขัดข้องทางเทคนิคว่าในขณะยานโคจรเพื่อจะถ่ายภาพในแถบนั้นเกิดเสียการควบคุมพอดี จึงไม่ได้ถ่ายภาพไว้ รวมทั้งโครงการมารส์โกลบอลเซอร์เวเยอร์ (Mars Globol Servayor) และโครงการพาทไฟน์เดอร์ (Pathfinder) ก็ไม่มีแผนการที่จะถ่ายภาพแถบไซโดเนียเช่นกัน ยิ่งสร้างความสงสัยแก่ผู้สนใจติดตามข่าวการสำรวจดาวอังคาร ว่านาซากำลังเก็บงำความลับอะไรไว้เพราะแสดงอาการไม่สนใจจนผิดปกติ จนถึงกระทั่งมีการล่ารายชื่อเพื่อแสดงประชามติของมหาชนเพื่อกดดันให้นาซาบรรจุแผนการถ่ายภาพใบหน้า พีระมิด และบริเวณใกล้เคียงให้ได้


ที่มา : http://www.yupparaj.ac.th
____________________
เครดิต :
________________________________
Pageviews
loading...

คุณรู้สึกอย่างไรกับบทความนี้

Tags:
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...