พบรอยเท้า...ที่ภูหินร่องกล้า

<
<



คณะทัวร์ป่าหน้าฝนของอุทยานภูหินร่องกล้า อ.นครไทย จ.พิษณุโลก เดินทางสำรวจท่องเที่ยวภายในอุทยานฯ ได้พบกับรอยเท้าบนหินก้อนใหญ่ ตามเส้นทางไปลานหินปุ่ม ตรงข้ามกับสะพานมรณะ จึงแจ้งเจ้าหน้าที่ให้เข้าตรวจสอบ



ทั้ง นี้ รอยเท้าดังกล่าวเป็นข้างขวาข้างเดียว มีนิ้วเท้าครบทั้ง 5 นิ้ว มีสภาพที่สมบูรณ์ คาดว่าเป็นรอยเท้าของผู้หญิง เพราะมีขนาดเล็กมาก เมื่อเทียบกับเท้าของเจ้าหน้าที่ผู้ชาย ฝังอยู่ในก้อนหินของป่าต้นน้ำขนาดใหญ่ความกว้างประมาณ 5 เมตร ที่มีลำธารสายเล็ก ๆ ไหลผ่านรอยเท้าโบราณ
ด้าน นายไพรัช มณีงาม หัวหน้าอุทยานภูหินร่องกล้า เปิดเผยว่า รอยเท้ามนุษย์ดังกล่าว ถือว่าแปลกประหลาด น่าจะเกิดโดยธรรมชาติ
อย่าง ไรก็ตาม นายศักดิ์ปรินทร์ สุรารักษ์ ผู้ช่วยอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า กล่าวว่าขณะนี้พบรอยเท้าคนเพียงจุดเดียวเท่านั้น กำลังรวบรวมข้อมูล ภาพถ่ายเพื่อแจ้งให้นักธรณีวิทยามาสำรวจ




นักธรณียืนยันรอยเท้าที่พบใน “ภูหินร่องกล้า” ไม่ใช่ของมนุษย์ ชี้หินที่อุทยานดังกล่าวมีช่วงอายุในกลุ่มหินยุคไดโนเสาร์ และไม่น่าใช่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งเกิดหลังจากยุคนั้นอีกนาน ยืนยันแค่ลำดับเหตุการณ์ทางธรณีวิทยาได้ก็บอกได้ว่ารอยเท้าดังกล่าวไม่ได้ เกิดจากคน

จากข่าวการค้นพบรอยเท้าบนก้อนหินใหญ่ที่อุทยานภูหินร่องกล้า อ.นครไทย จ.พิษณุโลก ทางทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ ได้สอบถามไปยัง ผศ.ดร.บูรพา แพจุ้ย อาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถึงความเป็นไปได้ที่จะพบรอยเท้ามนุษย์ในอุทยานดังกล่าว ซึ่งได้ให้ความเห็นว่าหินในอุทยานคงไม่ใช่หินช่วงที่มีมนุษย์เกิดขึ้นแล้ว

เนื่องจากหินที่ภูหินร่องกล้าเป็นหินที่เกิดในช่วง “กลุ่มหินโคราช” ซึ่งคาบเกี่ยวยุคจูราสสิค (Jurassic) และยุคครีเตเชียส (Cretaceous) แต่ ผศ.ดร.บูรพากล่าวว่า ไม่แน่ใจว่าภูหินร่องกล้าเป็นหินในยุคใด แต่โดยทั่วไปแล้วควรเป็นหินในยุคไดโนเสาร์ และรอยเท้าที่อยู่ในยุคนี้ไม่ควรเรียกว่า “มนุษย์” อย่างแน่นอน เพราะมีอายุเกิน 60 ล้านปี ที่เริ่มมีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งกว่าจะมีมนุษย์ก็หลังจากนั้นอีกนาน

ผศ.ดร.บูรพากล่าวว่า เขามีความเชี่ยวชาญทางด้านหินอัคนี แต่ผู้ที่จะอธิบายเรื่องนี้ได้ดีคือผู้เชี่ยวชาญด้านหินตะกอน อย่างไรก็ดี เขามีความรู้ในระดับที่ลำดับเหตุการณ์ทางธรณีวิทยาได้ ซึ่งเพียงพอที่จะบอกได้ว่ารอยเท้าดังกล่าวไม่ใช่รอยเท้ามนุษย์

นอกจากนี้ ผศ.ดร.บูรพาให้ความเห็นอีกว่า การค้นพบเพียงรอยเท้าเดียวยิ่งยากที่จะบอกได้ว่าเป็นสิ่งมีชีวิต เพราะหากเห็นหลายๆ รอยเท้ายังพอบอกว่าคือรอยก้าวเดิน ซึ่งเป็นไปได้ว่ารอยเดียวที่เกิดขึ้นนั้นอาจเป็นการหลุดร่อนหรือแตกออกไป เนื่องจากการกองทับของเศษอย่างอื่นที่ไม่ใช่สิ่งมีชีวิต แต่ทั้งนี้จะบอกได้ว่าเป็นสิ่งมีชีวิตใดนั้นต้องใช้นักบรรรพชีวินวิทยาดู เรื่องนี้อีกที



ที่มา :
____________________
เครดิต :
________________________________
loading...

คุณรู้สึกอย่างไรกับบทความนี้

Tags:
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...