แบตเตอรี่ยืดได้ 3 เท่า รองรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบใหม่ (บีบีซีนิวส์)
นักวิจัยสาธิตแบตเตอรี่ยืดได้ 3 เท่าของขนาดเดิมแต่ประสิทธิภาพไม่ลด ตอบโจทย์ความต้องการแบตเตอรี่ที่รองรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องยืดหยุ่นและยืดขยายขึ้น
บีบีซีนิวส์รายงานว่า แบตเตอรี่แนวคิดใหม่นี้อาศัยกลุ่มวัสดุสำหรับจุพลังงานที่กระจายเป็นจุดๆ บนแผ่นพอลิเมอร์ที่ยืดขยายได้ และยังสามารถชาร์จไฟแบบไร้สายได้ โดยทีมวิจัยได้ตีพิมพ์งานวิจัยนี้ลงวารสารเนเจอร์คอมมิวนิเคชันส์ (Nature Communications)
จอห์น โรเจอร์ส (John Rogers) จากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ในเออร์บานา-แชมเปญ(University of Illinois at Urbana-Champaign) สหรัฐฯ นักวิจัยอาวุโสในงานพัฒนาแบตเตอรี่ยืดขยายได้นี้ กล่าวว่าเป็นเรื่องค่อนข้างท้าทาย เพราะการการทำให้แบตเตอรี่ยืดขยายได้โดยไม่ลดประสิทธิภาพนั้นเป็นเรื่องยาก
“เราศึกษามาหลายวิธี ตั้งแต่การเก็บเกี่ยวพลังงานจากคลื่นวิทยุไปจนถึงพลังงานแสงอาทิตย์” ศ.โรเจอร์สกล่าว
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ศ.โรเจอร์สได้ทำงานร่วมกับทีมจากมหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเทิร์น (Northwestern University) สหรัฐฯ โดยพุ่งความสนใจไปที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ยืดได้ในหลายๆ แบบ โดยอาศัยสถาปัตยกรรมที่พวกเขาเรียกว่า “ป็อป-อัพ” (pop-up")
แนวคิดในการทำอุปกณ์อิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวคือการฝังวงจรไฟฟ้าเล็กขนาดเล็กที่มีพื้นที่กว้างๆ ลงในพอลิเมอร์ที่ยืดได้ และเชื่อต่อวงจรไฟฟ้านั้นด้วยสายไฟที่ “เด้งขึ้น” เมื่อพอลิเมอร์ถูกยืดออก
หากแต่แบตเตอรี่กลับไม่รองรับแนวคิดดังกล่าว ซึ่งตามปกติแล้วแบตเตอรี่มักจะมีขนาดใหญ่กว่าชิ้นส่วนอื่นๆ ของวงจรไฟฟ้า หรือแม้ว่าจะทำแบตเตอรี่ขึ้นจากชิ้นส่วนเล็กๆ ต่อเชื่อมเข้าด้วยกัน แต่หากจะผลิตแบตเตอรี่ขนาดเล็กที่ให้พลังงานอย่างเพียงพอ ชิ้นส่วนต่างๆ ต้องถูกวางไว้ชิดกับวงจรป็อป-อัพมากขึ้น
ทีมงานจึงมีแนวคิดในการเชื่อมสายไฟในลักษณะขดไปมาเหมือนงูเป็นรูปตัว S เล็กและวนซ้ำเป็นรูปตัว S ตัวใหญ่อีกตัว ทำให้เซลล์แสงอาทิตย์ที่ถูกฝังลงในพอลิเมอร์สามารถยืดออกได้ถึง 3 เท่า โดยการยืดที่เอสตัวใหญ่ก่อน และเมื่อถูกดึงอีกตัวเอสเล็กก็จะยืดออกอีก และแบตเตอรี่นี้ยังชาร์จไฟได้แบบไร้สายในระยะสั้นๆ ได้ โดยอาศัยการเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้า
อย่างไรก็ดี แบตเตอรี่นี้ยังเป็นเพียงต้นแบบ และชาร์จได้เพียง 20 รอบเท่านั้น ซึ่งยังต้องพัฒนาต่อไปเพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์
ภาพขยายวงจรให้เห็นสายไฟที่ถูกขดไปมาเป็นรูปตัวเอส (บีบีซีนิวส์)
ที่มา : http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9560000025394
____________________
เครดิต :
________________________________
อ้างอิง :
________________________________
loading...