ก.วิทย์ฯ ย้ำอุกกาบาตถล่มรัสเซีย ไม่เกี่ยวดาวเคราะห์น้อย

<
<





กระทรวงวิทย์ฯ ชี้อุกกาบาตถล่มรัสเซียแค่อุกกาบาตเล็ก ยันไม่เกี่ยวกับดาวเคราะห์น้อยเฉียดโลก ส่วนดาวเคราะห์น้อยยังติดตามอย่างใกล้ชิด... 

เมื่อวันที่ 16 ก.พ. ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยกรณีีเหตุระเบิดประหลาดเหนือท้องฟ้าของประเทศรัสเซีย ว่า สันนิษฐานเบื้องต้นได้ว่า เป็นอุกกาบาตขนาดเล็กที่หลุดเข้ามาในวงโคจรของโลก และระเบิดในบรรยากาศโลก ทำให้เห็นเป็นแสงสว่างวาบ อุกกาบาตขนาดเล็กนี้ เข้ามาสู่บรรยากาศด้วยความเร็วที่มากกว่าเสียง ทำให้สังเกตเห็นภาพแสงขาวๆ พุ่งพาดผ่านท้องฟ้าก่อนที่จะมีเสียงและคลื่นกระแทกตามมา และเนื่องจากอุกกาบาตชิ้นนี้ระเบิดในบรรยากาศ จึงยังไม่พบรายงานว่ามีผู้พบเห็นเศษชิ้นส่วนของอุกกาบาตนี้ ทั้งนี้ ยังไม่สามารถสรุปได้แน่ชัดว่า วัตถุนี้คืออะไรจนกว่าจะนำชิ้นส่วนมาศึกษาวิเคราะห์หาองค์ประกอบและที่มาของวัตถุดังกล่าว

รอง ผอ.สดร.กล่าวต่อว่า ตามปกติแล้วจะมีอุกกาบาตขนาดเล็กหลุดเข้ามาในบรรยากาศของโลกทุกๆ วัน โดยทั่วไปไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ แต่ในครั้งนี้วัตถุนี้อาจมีขนาดใหญ่กว่าและมีมวลรวมหลายตัน เมื่อเข้ามาในบรรยากาศโลกด้วยความเร็วสูง จึงเกิดการระเบิดเหนือพื้นโลก 20-30 กม. เห็นแสงสว่างวาบและมีเสียงระเบิดตามมาเป็นระลอกในภายหลัง และถึงแม้ว่าจะมีโครงการเฝ้าระวังวัตถุใกล้โลกของนาซาและหลายหน่วยงาน ที่คอยติดตามวัตถุในลักษณะเช่นนี้ แต่ก็ยังไม่สามารถตรวจจับวัตถุที่มีขนาดเล็ก ที่อาจมีวงโคจรที่ผ่านเข้าใกล้โลกได้ทั้งหมด เนื่องจากมีความสว่างน้อย และมีจำนวนมากนับล้านวัตถุ 

ดร.ศรัณย์ กล่าวย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในวันเดียวกับวันที่องค์การนาซาของสหรัฐฯ ได้คำนวณการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์น้อย 2012DA14 ว่าจะเข้าใกล้โลกมากที่สุดในระยะประมาณ 27,700 กิโลเมตรในช่วงเช้ามืดของวันที่ 16 ก.พ. ตามเวลาประเทศไทย แต่ขอยืนยันว่าไม่มีความเกี่ยวข้องกัน เนื่องจากอุกกาบาตเล็กที่ตกที่รัสเซีย โคจรจากทางทิศเหนือไปทิศใต้ ส่วนดาวเคราะห์น้อย 2012 DA14 โคจรจากทิศใต้ไปทิศเหนือ และมีระยะห่างของสองวัตถุหลายแสนกิโลเมตร โดยทีมนักดาราศาสตร์ และนักวิจัยของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์ฯ ใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาด 2.4 เมตร ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ติดตามการโคจรมาใกล้โลกของดาวเคราะห์น้อย 2012 DA14 นี้ อย่างใกล้ชิด เนื่องจากในขณะที่ดาวเคราะห์น้อยโคจรมาใกล้โลกที่สุดจะอยู่เหนือฟากฟ้าของประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้






ที่มา : http://www.thairath.co.th/content/edu/327058
____________________
เครดิต :
________________________________

อ้างอิง :
________________________________
loading...

คุณรู้สึกอย่างไรกับบทความนี้

Tags: , ,
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...