ไขปริศนาแสงอินฟราเรดลึกลับรอบดาวเกิดใหม่

<
<

เป็นเวลาหลายสิบปีแล้วที่นักดาราศาสตร์สงสัยถึงแสงอินฟราเรดลึกลับรอบดาวฤกษ์เกิดใหม่ ซึ่งมีการปล่อยออกมามากกว่าที่ควรจะเป็น ทั้งๆ ที่มีมวลน้อยกว่าดวงอาทิตย์ของเราอยู่หลายเท่า งานวิจัยใหม่เผยว่าสนามแม่เหล็กในแถบจานกำเนิดดาวเคราะห์น่าจะเป็นต้นเหตุของปริศนานี้

ข้อมูลจากองค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐ (นาซา) ระบุว่านักวิจัยได้ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ (Spitzer Space Telescope) ของนาซา ศึกษาปริศนาที่ยากจะแก้ดังกล่าว ด้วยการสำรวจดาวเกิดใหม่และพบว่า แสงอินฟราเรดดังกล่าวมาจากแหล่งกำเนิดแสงที่ไม่รู้จัก

การสำรวจดังกล่าวสอดคล้องกับทฤษฎีใหม่จากการคำนวณโดยใช้แบบจำลองสามมิติของแถบจานกำเนิดดาวเคราะห์รอบดาวฤกษ์ ซึ่งชี้ว่าแสงอินฟราเรดที่สว่างจ้าเกินกว่าจะมาจากดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อยกว่าดวงอาทิตย์ 2-3 เท่านั้น น่าจะมาจากก๊าซและฝุ่นที่แขวนลอยอยู่ในวงรอบสนามแม่เหล็กเหนือแถบจานกำเนิดดาวเคราะห์ ดูดกลืนแสงจากดาวฤกษ์และเรืองแสงในย่านอินฟราเรด

ด้าน นีล เทอร์เนอร์ ผู้วิจัยจากห้องปฏิบัติการจรวดขับเคลื่อนความดัน ของนาซา ระบุว่า หากไผยืนอยู่ในแถบจานดชกำเนิดดาวเคราะห์แล้วมองไปยังดาวฤกษ์ดวงแม่ จะเห็นเหมือนตอนพระอาทิตย์ตก โดยสนามแม่เหล็กดังกล่าวคล้ายสนามแม่เหล็กจากเปลวสุริยะที่เกิดขึ้นบนดวงอาทิตย์ของเรา

แบบจำลองใหม่นี้อธิบายถึงองค์ประกอบที่หมุนวนรอบดาวฤกษ์ แล้วก่อตัวเป็นดาวเคราะห์ ดาวหางและดาวเคราะห์น้อยได้ดีกว่าทฤษฎีอื่นๆ ที่ผ่านมา ซึ่งหลังจากได้ทฤษฎีนี้แล้ว ยังต้องทดลองต่อไปในอนาคต เพื่อพิสูจน์ว่าทฤษฎีนี้ถูกต้อง

แม้ว่าแนวคิดเกี่ยวสนามแม่เหล็กบนแถบจานกำเนิดดาวเคราะห์ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่นาซาระบุว่างานวิจัยของเทอร์เนอร์และคณะเป็นงานแรกที่เชื่อมโยงกับการสังเกตพบแสงอินฟราเรดที่มากเกินปกติในดาวฤกษ์เกิดใหม่

ทั้งนี้ ดาวฤกษ์เกิดจากการยุบตัวของกลุ่มเมฆฝุ่นและก๊าซปริมาณมหาศาล และหมุนไปพร้อมกับการหดตัวเนื่องจากแรงดึวของแรงโน้มถ่วง เมื่อขนาดของดาวโตขึ้นก็จะมีวัตถุจากกลุ่มเมฆร่วงใส่ดาวมากขึ้น และการหมุนก็เหวี่ยงให้วัตถุเหล่านั้นแบนเป็นแถบจาน สุดท้ายดาวเคราะห์ก็จับตัวเป็นก้อนหมุนจากแถบจาน





ที่มา : http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9570000027037
____________________

loading...

คุณรู้สึกอย่างไรกับบทความนี้

Tags: ,
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...