จับภาพหลุมดำกลืนดวงดาวครั้งแรกของโลก!!

<
<


ภาพที่เห็นนี้นับเป็นภาพที่น่าตื่นตาตื่นใจที่สุดครั้งหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ ของ วงการดาราศาสตร์ เมื่อมีการตรวจพบเหตุการณ์ ขณะที่ หลุมดำขนาดมหึมากำลังฉีกกินดวงดาว

ทีมวิจัยของเกาหลีใต้ สามารถจับภาพปรากฏการณ์หลุมดำมหึมาดูดกลืนดวงดาวได้เป็นที่แรกในโลก

โดยทีมงานวิจัยของ ศาสตราจารย์ ฮิม ยอง ชิน จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติในกรุงโซลและบุคลากรจากสถาบันดาราศาสตร์และหอดูดาวโบยูน ในเมืองยองชอน ประเทศเกาหลีใต้ ได้เปิดเผยภาพปรากฏการณ์หลุมดำขนาดมหึมา กำลังดูดกลืนดวงดาว ซึ่งถือได้ว่าเป็นครั้งแรกที่สามารถจับภาพหลุมดำขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา

ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ว่า หลุมดำดังกล่าวน่าจะมีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ประมาณ 10 ล้านเท่า ซึ่งจากการจับภาพดังกล่าวได้ นับได้ว่าเป็นประโยชน์มาก เนื่องจากทำให้สามารถเรียนรู้ปรากฎการณ์หลุมดำดูดกลืนดวงดาวได้อย่างไร และแสงฟ้าผ่าในช่วงเวลานั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร

โดยหลุมดำ คือ อาณาบริเวณในห้วงอวกาศที่มีแรงโน้มถ่วงสูงมาก เกิดจากการล่มสลายของดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ ซึ่งไม่สามารถทนต่อแรงโน้มถ่วงสูงได้ หลุมดำมีมวลขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์หลายพันล้านเท่า และเมื่อดวงดาวโคจรเข้าใกล้หลุมดำซึ่งมีแรงดึงดูดมหาศาลจึงถูกดึงเข้าไปในหลุมดำจนถูกฉีกออกเป็นชิ้น ๆ ส่วนแสงฟ้าผ่า เกิดขึ้นเมื่อซากของดวงดาวถูกดูดกลืนเข้าไปในหลุมดำ

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าทีมวิจัยชาวเกาหลีใต้สามารถจับภาพปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่สำคัญนี้ไว้ได้ แต่กลับต้องผิดหวัง เนื่องจากไม่ได้รับความสนใจจากสื่อหนังสือพิมพ์เท่าที่ควร โดยไม่มีการอ้างถึงประเทศเกาหลีในฐานะเป็นประเทศแรกของโลกที่สามารถจับภาพปรากฏการณ์ดังกล่าวได้

  • ภาพที่เห็นจั่วหัวคือภาพเหตุการณ์ขณะที่หลุมดำกำลังกลืนกินดาว ที่วาดขึ้นโดยจิตรกร ซึ่งเหตุการณ์สุดยากยิ่งที่จะเกิดซักครั้งหนึ่ง เมื่อหลุมดำซึ่งเป็น 1 ในพลังอันยิ่งใหญ่ที่สุดในจักรวาล ได้บดขยี้ดวงดาวเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แล้วดูดกลืนหมุนวนเข้าสู่ศูนย์กลางของ หลุมดำ (แสงสีขาวที่มีลักษณะเป็นรูปวงเล็บปิดด้านขวามือ )
  • ส่วนสิ่งที่เห็นเป็น ธารสีขาว(เส้นตรง) นั้นคือ กระแสพลาสม่า(plasma) ที่ไหลทะลักออกจากกึ่งกลางของหลุมดำ ที่อยู่ห่างไกลจากโลกถึง 4 พันล้านปีแสง กระแสพลาสม่านี้เรียกว่า relativistic jets ที่อาจจะยาวได้ถึง 100 หรือ 1,000 ล้านปีแสงเลยก็ได้
  • โดยเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2011 กล้อง Swift Telescope ได้ตรวจจับการระเบิดอย่างฉับพลันของรังสี จากกลุ่มดาว constellation Draco ลำแสงนี้เสมือนข้อความที่ส่งไปยังเหล่านักดาราศาสตร์ทั้งโลก ให้หันไปจับจ้องว่าขณะกำลังเกิดเหตุกาณ์อะไรขึ้น ใน จักรวาล ณ จุดนั้น
  • โดยปกติ การระเบิดของรังสีขนาดใหญ่ในจักรวาล จะเกิดขึ้นครั้งเดียว อันเป็นผลมาจากดวงดาวเกิดการระเบิดเป็นซุปเปอร์โนว่า(supernova)
  • แต่สำหรับเหตุกาณ์นี้ เกิดมีการระเบิดของรังสี ครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในวันถัดไป ณ ตำแหน่งเดิมซึ่งมันเป็นเหตุกาณ์ที่ผิดปกติอย่างยิ่ง
  • เมื่อทำการติดตามไปยังแหล่งของการระเบิดก็พบว่า ณ ตำแหน่งนั้นเป็นที่ตั้งของ หลุมดำ
  • นาย Ashley Zauderer ซึ่งเป็นนักดาราศาสตร์ ของ Harvard-Smithsonian Center for Astrophysics จึงได้หลักฐานที่มีน้ำหนักในการสร้าง ทฤษฎี ว่าปรากฎการณ์ดังกล่าวนั้นเกิดจาก การที่ดวงดาวที่มีขนาดเท่าดวงอาทิตย์ของเราโคจรเข้าไปไกลหลุมดำขนาดใหญ่ ที่มีแรงดึงดูดมหาศาล เป็นเหตุให้ส่วนที่อยู่ใกล้หลุมดำถูกดึงยึดเข้าสู่หลุมดำ เมื่อถึงมาถึงวาระสุดท้าย แรงดึงดูดจากฉีกดาวออกเป็นชิ้นๆ(ดาวแตกดับเกิดเป็นการระเบิดซุปเปอร์โนว่า การระเบิดครั้งที่ 1) ก่อตัวเป็นก้อนพลาสม่าไหลเข้าสู่หลุมดำ แต่ในขบวนการนี้ พลาสม่าบางส่วนจะถูกพ่นออกมาเป็น relativistic jets และ relativistic jets ที่ถูกพ่นออกมานี้เอง ที่กล้องตรวจจับได้เป็นการระเบิดครั้งที่ 2
  • เมื่อ หลุมดำกลืนกินดาวงดาวเข้าไป มันจะยิ่งทรงพลัง เนื่องจากดวงดาวได้เข้าไปเพื่มมวลของหลุมดำให้ยิ่งมากขึ้น(ยิ่งวัตถุยิ่งมีมวลมากเท่าไรจะยิ่งมีแรงดึงดูดมากขึ้นตามไปด้วย)
  • เหตุการณ์หลุมดำกลืนกิน ดวงดาว นั้นเกิดยากยิ่งคือมีโอกาสเกิดขึ้น 1 ครั้งในช่วงเวลา แสนล้านปี/ครั้ง/1แกแล็คซี่





ที่มา : wowboom ,กระปุกดอทคอม
____________________
เครดิต : 
________________________________
loading...

คุณรู้สึกอย่างไรกับบทความนี้

Tags:
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...