"ผีเสื้อ"ญี่ปุ่น เริ่ม"กลายพันธุ์" หลังสารรังสีรั่วโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ

<
<






การแพร่กระจายของสารกัมมันตรังสีสู่สภาพแวดล้อม ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ในผี้เสื้อของญี่ปุ่น


นักวิทยาศาสตร์พบว่าผีเสื้อที่เก็บรวบรวมตัวอย่างได้ หลังเกิดเหตุการณ์ที่โรงไฟฟ้าฟุกุชิมะ ไดอิจิ เมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้ว มีจำนวนขาที่เพิ่มขึ้น หนวดยาวขึ้น และปีกผิดรูปทรงเดิม และผลการทดสอบในห้องทดลองพบว่า การกลายพันธุ์และสารกัมมันตรังสีมีความเชื่อมโยงกันอย่างมีนัยยะ


รายงานการวิจัย ซึ่งตีพิมพ์ลงในวารสารไซเอนทิฟิก รีพอร์ทส โดยมีรองศาสตราจารย์โจจิ โอตากิ แห่งมหาวิทยาลัยริวกิว ในจังหวัดโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น ในฐานะหัวหน้าทีมงานเผยผลการวิจัยระบุว่า จากการเก็บตัวอย่างผีเสื้อฟ้าเซลล์จุดป่าสูง (Zizeeria maha) จำนวน 144 ตัว หลังเกิดวิกฤตการณ์นิวเคลียร์เมื่อเดือนมีนาคม 2011 เพียง 2 เดือน ในพื้นที่ 10 จุดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น ซึ่งรวมถึงฟุกุชิมะ


ภาพ: nature.com


จากการเปรียบเทียบ พบว่ามีการการกลายพันธุ์ในผีเสื้อที่รวบรวมได้จากพื้นที่ต่างๆกัน โดยในพื้นที่ที่มีการปนเปื้อนของสารรังสีสูง ผีเสื้อจะมีขนาดปีกที่เล็กลง และมีการพัฒนาของดวงตาที่ไม่เต็มที่

ศาสตราจารย์โอตากิ กล่าวว่า เดิมทีเข้าใจกันว่าผีเสื้อเป็นสัตว์ที่มีความต้านทานต่อสภาพแวดล้อมมากที่สุดชนิดหนึ่ง แต่ผลที่ได้รับได้ให้ผลที่ไม่คาดคิด

ต่อมาได้มีการนำผีเสื้อพันธุ์ดังกล่าวมาเพาะพันธุ์ในห้องแลบในจังหวัดโอกินาวาที่ห่างจากจุดเกิเหตุกว่า 1,750 กม. ซึ่งเชื่อว่าสารกัมมัตรังสีแทบจะเดินทางมาไม่ถึง และพบความผิดปกติหลายประการในผีเสื้อที่โตเต็มวัยที่ต่างจากบรรพบุรษของมัน โดยเฉพาะจากพื้นที่ฟุกุชิมะ อาทิ หนวดที่พัฒนาผิดรูปผิดร่าง

โดยในอีก 6 เดือนต่อมา ทีมนักวิจัยได้ทำการรวบรวมผีเสื้อจากพื้นที่เดิมอีกครั้ง และพบว่าผีเสื้อที่มาจากฟุกุชิมะ มีอัตราการกลายพันธุ์สูงมากเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับที่เคยรวบรวมได้ครั้งแรก และสรุปว่า อัตราที่เพิ่มขึ้นนี้เกิดจากการที่พวกมันกินอาหารที่มีการปนเปื้อนสารรังสี แต่ส่วนหนึ่งมาจากบรรพบุรุษ ที่ถูกส่งต่อกันมารุ่นต่อรุ่น แม้ว่าจะไม่ชัดเจนนักในผีเสื้อรุ่นก่อนหน้านี้ก็ตาม

ทีมนักวิจัยได้ทำการศึกษาผีเสื้อมานานกว่า 10 ปี ก่อนหน้าเหตุการณ์ที่ฟุกุชิมะ โดยใช้ผีเสื้อในฐานะดัชนีชี้วัดสิ่งแวดล้อม และพบว่าสัตว์ประเภทนี้ มีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมอย่างยิ่ง เนื่องจากพบว่าผีเสื้อมีวิวัฒนาการด้านรูปแบบสีสันต่อภาวะโลกร้อนมาก่อน ศาสตราจารย์โอตากิ กล่าวว่า และเนื่องจากผีเสื้อเหล่านี้ถูกพบในสภาวะแวดล้อมจำลอง อย่างเช่น สวนสาธารณะ หรือสวนขนาดเล็ก ผู้เสื้อเหล่านี้จึงสามารถใช้เป็นตัวตรวจสอบสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์อยู่อาศัยได้

ผลการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่ารังสีที่ถูกปล่อยออกมาในระหว่างอุบัติเหตุ ก่อให้เกิดผลการเปลี่ยนแปลงในทางที่น่ากังวล และการกลายพันธุ์ในผีเสื้อจะยังคงดำเนินต่อไป แม้ว่าระดับสารรังสีในสภาพแวดล้อมจะจางหายไปแล้วก็ตาม

ศ.โอตากิได้เตือนว่า ยังคงเร็วเกินไปที่จะสรุปได้ว่ารังสีที่รั่วไหลจะส่งผลกระทบกับสัตว์สายพันธุ์อื่นๆ หรือแม้กระทั่งกับมนุษย์หรือไม่ และยังบอกอีกว่า ทีมวิจัยจะศึกษาวิจัยเพิ่มเติมถึงผลกระทบของรังสีกับสัตว์ชนิดอื่นๆต่อไป









ที่มา : http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1345115667&grpid=&catid=06&subcatid=0600
____________________
เครดิต :
________________________________

อ้างอิง :
________________________________
loading...

คุณรู้สึกอย่างไรกับบทความนี้

Tags: ,
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...